รุ่งทิพย์ สุขกำเนิด
“อะไรเอ๋ย ตอนเด็ก
ตัวเขียวๆ พอโตเป็นสาว ขาวอวบน่าหมั่นเขี้ยว
(อะอ้า อย่าคิดมาก) ใบ้ให้อีกนิดเดียวว่า แม่ค้าจะหวาดเสียว
ถ้าไม่มีเธอในร้านให้เคี้ยวคู่กับอาหารต่อไปนี้ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่แห้ง
ผัดไทย หอยทอด เกาเหลา และข้าวยำ”
ก็
“ถั่วงอก” ไงคะ คิดไม่ถึงใช่ไหมหล่ะ
ว่าถั่วงอกเนี่ยเป็นผักยอดฮิตคู่กับอาหารไทยอย่างไม่น่าเชื่อ มีค่าประมาณการว่าเฉพาะกรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียวมีการบริโภคถั่วงอกถึง
2 แสนกิโลกรัมต่อวัน เมื่อคำนวณทั้งประเทศคนไทยจะบริโภคถั่วงอกไม่น้อยกว่า
1 ล้านกิโลกรัมต่อวันเลยทีเดียว1
ไม่ใช่แค่ถั่วงอกจะเป็นผักยอดฮิต แต่ถั่วงอกยังเป็นแหล่งสารอาหารและวิตามินที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว
เนื่องจากกระบวนการงอกทำให้โมเลกุลของสารอาหารในเมล็ดเปลี่ยนไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายย่อยได้ง่าย
โดยโปรตีนในเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโน ไขมันจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน
และแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส อีกทั้งถั่วงอกยังมีวิตามินบีรวม
วิตามินอี และวิตามินซีซึ่งอยู่ในรูปสารละลายมีปริมาณเพิ่มขึ้น (พบว่าถั่วและเมล็ดงอกทุกชนิดมีวิตามินซีมากกว่าในรูปที่เป็นเมล็ด
3-5 เท่า (เทียบเท่ากับมะเขือเทศ) วิตามินบี 1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น 5 เท่า) นอกจากนี้การงอกยังทำให้เกิดวิตามินบี 12
ซึ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งปกติวิตามินบี 12
นี้จะพบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น และยังพบธาตุเหล็ก
และมีสารเลซิติน (lecithin) ซึ่งช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง
มีสารต้านความแก่ ที่เรียกว่า ออซินัน (auxinon) ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น
ไม่แก่เร็ว2 ด้วยความที่ถั่วงอกเป็นผักที่ทานง่ายกลิ่นอ่อน
และให้เส้นใยสูง จึงเหมาะอย่างยิ่งกับเด็กและคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย จะเห็นว่าถั่วงอกเป็นพืชที่ให้สารอาหารมากมายอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับราคาและระยะเวลาในการปลูก
เฉพาะรายการที่ทดสอบ
|
ผลการทดสอบ
(ต่อถั่วงอก 100 กรัม) |
วิธีทดสอบ
|
วิตามิน
|
27.51
มิลลิกรัม
|
HPLC
|
โปรตีน
|
1.69 กรัม
|
Kjeldahl’s
method
|
ไขมัน
|
0.04 กรัม
|
SFE
|
ไฟเบอร์
|
0.93 กรัม
|
AOAC
|
โซเดียม
|
3.69
มิลลิกรัม
|
FASS
|
แคลเซียม
|
13.14 มิลลิกรัม
|
FASS
|
เหล็ก
|
5.16
มิลลิกรัม
|
FASS
|
ที่มา : http://surabean.com/NutriFactsTH.html
แต่ก็เป็นที่น่าเสียวไส้อยู่ไม่น้อย
หลังจากที่มีข่าวว่าเชื้ออีโคไลได้คร่าชีวิตชาวเยอรมันเมื่อปีที่ผ่าน (ปี 2554)มาจากการทานถั่วงอกเข้าไป3
แต่สำหรับคนไทยเชื้อนี้อาจทำอะไรเราไม่ได้มากเพราะเรามีภูมิต้านทานดีกว่า
แต่ท่านพญายมอาจถามหาคนไทยที่นิยมทานถั่วงอกได้
ก็เพราะว่าในอุตสาหกรรมการผลิตถั่วงอกของบ้านเรามีการอนุญาตให้ใช้สารเคมีโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ในน้ำสุดท้ายก่อนนำถั่วงอกออกจำหน่าย
เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วงอกสีคล้ำลง แม้จะมีมาตรฐานกำหนด
แต่มันก็เป็นการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอยู่ดี
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายของคุณจะสามารถรับสารเคมีได้อีกมากน้อยแค่ไหน
เพราะวันหนึ่งๆเราก็รับสารเคมีเข้าไปเยอะอยู่แล้ว ทั้งจากการกิน ดม ทา อาบ ฯลฯ
และคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสารป้องกันสีคล้ำที่เขาใช้กันตามมาตรฐานจะไม่สะสมในร่างกาย
หรือไม่ทำปฏิกริยากับสารเคมีอื่นที่รับเข้าไปด้วย และคุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันจะไม่เกิดอะไรขึ้นในระยะยาว??? ที่ผ่านมา เคยมีรายงานว่ามีผู้ผลิตบางราย
ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และทั้งที่รู้แต่ยังทำได้ ใช้สารฟอกขาวประเภทโซเดียมโฮโดรซัลไฟต์4
ซึ่งใช้ในการย้อมอวนแทนสารที่ได้รับอนุญาต ยิ่งไปกันใหญ่ และมีบางรายใช้ฟอร์มาลีน5 ร่วมด้วยเพื่อรักษาความสดของถั่วงอกนี่ยิ่งหนักเลย เอาเป็นว่า เพื่อความปลอดภัย บ้านต้นคิดทิพย์ธรรม
จะขอแนะนำวิธีเพาะถั่วงอกกินเองแบบง่ายๆ ปลอดภัย สบายกระเป๋า ให้ลองไปทำกันดูค่ะ
ขั้นแรก เตรียมอุปกรณ์
1. ถั่วเขียว
5 กำมือ (ประมาณ 2 ขีดหย่อนๆ) แช่น้ำ 1 คืน
2. กระถางดินเผาปากกว้างประมาณ
9 นิ้วที่ล้างสะอาดตากแดดจนแห้ง 1 ใบ
3. ใบตองล้างสะอาด
ประมาณครึ่งใบ
4. ไม้เล็กๆ
สำหรับขัด (เช่น ไม้ไผ่เล็กๆ คล้ายตอกแต่แข็งกว่า)
ขั้นที่ 2 วิธีการทำ
1. วางใบตอง
3 ชั้น แล้วตามด้วยถั่วเขียวทั้งหมด
2. ปิดด้วยใบตองสัก 3 ชั้น
3. เอาไม้ขัดให้แน่น
โดยขัดสูงกว่าถั่วเล็กน้อย
4.
รดน้ำหรือ แช่กระถางในกะละมังที่มีน้ำพอท่วมถั่่ว ทิ้งไว้
3-5 นาทียกขึ้น ทำวันละ 3-4 เวลา
5. เก็บไว้ในที่ร่ม และค่อนข้างมืด
6. ทำซ้ำข้อ 2.4 และ 2.5 รวม 3 วัน 2
คืน
1.ถั่วเขียวแช่น้ำ 1 คืน |
2.วางใบตองแล้วตามด้วยถั่วเขียว |
3.ปิดด้วยใบตองอีกที |
4.ใช้ไม้ขัด แช่น้ำแล้วเก็บไว้ที่ร่มและมืด |
5.ครบวันที่ 3 เปิดออกดู |
6.เตรียมเมนูเด็ดไว้ทานกับถั่วงอก |
พอถึงวันที่
3 ตอนบ่าย ก็เตรียมเมนูที่ชอบ
พร้อมกับเปิดม่านสีเขียวเพื่อพบกับน้องสาวขาวอวบแสนอร่อย และปลอดภัย ประมาณ 1
กิโลกรัม เท่านี้ก็อูย น้ำลายหก ขอตัวไปทานหอยทอดก่อนนะ
ก่อนไป
มีเพื่อนๆหลายคนนำวิธีข้างบนไปลองทำ แต่ไม่สำเร็จ บางทีก็เน่าบ้าง ขึ้นราบ้าง ความลับของความสำเร็จอยู่ที่ความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้
และเมล็ดถั่ว โดยเฉพาะ เมล็ดถั่วที่แตกหรือเน่า ต้องคัดทิ้งเสียก่อน รวมถึงเวลาเพาะต้องไม่ให้น้ำจนชื้นอยู่ตลอดเวลา
หรือแฉะเกินไป
สำหรับถั่วงอกที่ได้
ควรล้างทำความสะอาดแยกเอาเปลือกเขียวออก และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
ก่อนที่จะใส่ถุงพลาสติกพองลม หรือใส่ในกล่องพลาสติกเข้าตู้เย็น
จะสามารถรักษาความสดไว้ได้นานกว่า 2 สัปดาห์ ในขณะที่ถั่วงอกที่ซื้อจากตลาด
แม้จะดูสวยอวบกว่าที่เพาะเอง แต่จะมีอายุเพียง 2-3 วันเท่านั้น
เกร็ดเล็กๆเรื่องสารฟอกขาวหรือสารฟอกสี
ตามปกติสารเคมีที่เป็นอันตรายที่ใช้ในอาหารนั้น
จะมีบางชนิดที่อนุญาตให้ใส่ลงในอาหารได้ในปริมาณที่กำหนด หรือที่เรียกว่าวัตถุเจือปนอาหาร
เพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารให้ดีขึ้น แต่สารเคมีบางชนิดเป็นสารที่ไม่อนุญาตหรือห้ามใช้ในอาหารเนื่องจากเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างร้ายแรง
เช่น สารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) ซาลบูทามอล (สารเร่งเนื้อแดง) กรดซาลิซิลิค (สารกันรา) ฟอร์มาลิน
(สารคงความสด) และโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) เป็นต้น
สำหรับสารฟอกขาวที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้
แต่ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ เช่น โซเดียมซัลไฟต์ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลทำให้เกิดมีสารกำมะถันตกค้างในอาหารในปริมาณสูงและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคถึงแก่ชีวิตได้
โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบ หืด อ่อนเพลีย และผู้ที่ออกกำลังมาก
สารฟอกขาวที่ใช้ในอาหารนั้นมีหลายชนิด
แต่ที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารก็คือสารเคมีในกลุ่มซัลไฟ
ต์ ได้แก่
- สารประกอบซัลไฟต์ เช่น แคลเซียมซัลไฟต์ โซเดียมซัลไฟต์ โพแทสเซียมซัลไฟต์ - สารประกอบไบซัลไฟต์ เช่น โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ ใช้ป้องกันการบูดเสียของอาหารได้ด้วย - สารประกอบเมตาไบซัลไฟต์ เช่น โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
ส่วนสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์หรือผงซักมุ้ง (หรือชื่ออื่นคือ
โซเดียมไดไธโอไนต์) เป็นสารฟอกสีที่เป็นอันตรายกระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้เจือปนในอาหาร
เพราะมีความเป็นพิษค่อนข้างสูง สารนี้หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ
เป็นผื่นแดง ถ้าบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น
ปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร
หากกินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง
เวียนศีรษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตลดต่ำลง
แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
หลอดลมหดตัว ทำให้หอบหืด ในผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วอาจช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้
ที่มา
: คณาจารย์
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/kitchen-room/7-sodium-hydrosulfite.html สืบค้น 1
มิ.ย. 2555
|
อ้างอิง
1)
http://www.oatthailand.org/index.php/vegatable-organic/
2) สารานุกรมผัก (นิตยสารครัว) อ้างใน http://saya.exteen.com/20071025/entry
5)
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/kitchen-room/7-sodium-hydrosulfite.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น