รุ่งทิพย์ สุขกำเนิด
ฉันไม่เคยสงสัยในข้าวทุกเมล็ดที่กินมาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งได้เคยมาเป็นผู้ค้าสารเคมีเกษตร จึงรู้ว่าในการปลูกข้าวทั่วไปมีการใช้สารเคมีกันมากตั้งแต่ การคลุกเมล็ด การใช้ปุ๋ยเคมีหลายรอบตั้งแต่ปลูก แต่งหน้า ยันช่วงข้าวตั้งท้อง สารเคมีเพื่อคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและสารกำจัดวัชพืช ทั้งสัมผัสตายและดูดซึม สารกำจัดโรค แมลง ปูนา หนูนา เพลี้ย หอยเชอรี่ ฮอร์โมนเพื่อการติดดอกติดเมล็ดและอื่นๆ จำได้ไม่หมดเพราะได้ห่างเหินจากวงการค้านี้มาพอสมควร แต่ก็ต้องมาตกใจอีกครั้งกับความรู้ใหม่หลังจากเริ่มช่วยชาวบ้านขายข้าวอินทรีย์วิถีชุมชนอันเนื่องมาจากหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องในฐานะนักวิจัยที่ต้องการหาตลาดให้กับชุมชน และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพแบบเสียสมดุลจนถึงขั้นแทบเดินไม่ได้
ความสงสัยมีมากขึ้นเรื่อยๆจากข้อสังเกตที่ว่า ทำไมนะข้าวอินทรีย์ที่เราขายอยู่
ถึงเป็นที่หมายปองของมดมากนัก ใส่กระสอบที่มีถุงพลาสติกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง
หรือใส่ถุงพลาสติก 2 ชั้น แถมซ่อนในลังพลาสติกก็ยังเอาไม่อยู่
วันไหนมีข้าวสารมาส่ง คุณมดจะจัดกองทัพมาปาร์ตี้กันเต็มไปหมด
แถมยังขนกลับรังโดยไม่ถามเจ้าของซ๊ากคำ อีกทั้งข้าวนี้ยังเก็บได้ไม่นานก็เป็นมอด
ขนาดขัดสีมาใหม่ๆ ก็อยู่ได้แค่ 2-3 เดือนเท่านั้นในภาวะเก็บแบบปกติ
ซึ่งต่างจากข้าวที่ขายทั่วไปในท้องตลาด ที่คนขายเปิดกระสอบเรียงให้เต็มไปหมด
มดก็ไม่มี มอดก็ไม่ขึ้น คุณว่าแปลกไหมหล่ะ!!??
http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1334&Itemid=176 |
แต่ตอนนี้ความสงสัยได้จากไปแล้วค่ะ
เหลือแต่ความกลัวที่เข้ามาแทนที่ทันทีที่ความรู้เริ่มกระจ่าง เกษตรกรหลายคนเล่าว่า
ถ้าไปที่ยุ้งฉางของโรงสีขนาดเล็กบางแห่ง พอเปิดประตูก็จะมีมอดบินกัน
อันนี้แปลว่าไม่ได้ใช้สารเคมีในการเก็บแน่นอน ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะมอดจะชอบกินข้าวมากโดยเฉพาะข้าวที่ปลูกแบบใช้สารเคมี
ดูเหมือนว่าจะเจาะเปลือกได้ง่ายกว่า
จากคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้มีประสบการณ์บอกเราว่า
โรงเก็บข้าวที่ปลูกแบบใช้สารเคมีจะมีปัญหาเรื่องของมอดมากกว่ายุ้งของเกษตรกรที่ปลูกแบบไม่ได้ใช้สารเคมี
นอกจากมอดแล้ว
หนูและมดก็เป็นอีกปัญหาที่หนักหน่วงไม่แพ้กันที่โรงสีทั้งหลายและยุ้งของเกษตรกรต้องเผชิญ ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาให้สิ้นซาก
บรรดาโรงสีและยุ้งเก็บข้าวขนาดใหญ่จึงใช้วิธีที่ง่ายๆ
แบบรวดเดียวอยู่หมัดด้วยการรมสารเคมี ซึ่งตัวที่นิยมใช้คือ “เมทิลโบรไมด์” (Methyl
bromide) นั่นเอง
เมทิลโบรไมด์ มีชื่อเรียกอื่นว่า โบรโมมีเทน หรือดาวฟูม หรือเฮลอน 1001
เป็นสารเคมีที่ใช้ในภาคการเกษตร ใช้สำหรับป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
โดยใช้รมควันในดิน พืชไร่( เช่น ข้าวข้าวโพด ถั่วต่างๆ และมันสำปะหลังอัดเม็ด)
ปลาป่น เครื่องยาจีนสุมนไพร เฟอร์นิเจอร์ไม้/หวาย รมในโรงเก็บ และเรือ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารกำจัดไรและกำจัดวัชพืชด้วย หากพูดถึงวัตถุประสงค์แล้ว เมทิลโบรไมด์ถูกนำมาใช้เพื่อเก็บรักษาผลผลิตการเกษตร งานกักกันพืชที่นำเข้า และการรมกำจัดศัตรูพืชก่อนการส่งออก เป็นหลัก
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในตู้ส่งผลไม้สดเพื่อการส่งออกของหลายประเทศ เช่น เชอรี่
แอปเปิ้ล พริกหวาน ลูกพลัม ก็มีการใช้เมทิลโบรไมด์เพื่อควบคุมแมลงด้วย
อย่างไรก็ดี
ปัญหาของเมทริลโบรไมด์กลับไม่ค่อยได้ถูกพูดถึงในแง่ของสารตกค้างถึงผู้บริโภคทั้งในกรณีของสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออก
ในกรณีสินค้าส่งออกจากประเทศไทยนั้นคงจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก เนื่องจากในต่างประเทศมีการกำหนดหรือควบคุมกระบวนการใช้
โดยมีการกำหนดให้ต้องส่งออกสินค้าที่รมสารนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
รวมถึงได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานหรือเกณฑ์ในการตรวจสอบสารพิษตกค้างในอาหาร (MLRs)[1] ในปริมาณที่ปลอดภัยไว้แล้ว แต่สำหรับสินค้านำเข้าหรือสินค้าที่ขายในประเทศไทยแล้ว
โดยเฉพาะในข้าวสารที่เราๆท่านๆทานกันทุกวี่วัน
กลับไม่มีการกำหนดค่าสารตกค้างจากเมทริลโบรไมด์ไว้
ตัวอย่างค่ามาตรฐานสารตกค้างเมทริลโบรไมด์ในสินค้าข้าวของประเทศต่างๆ
ประเทศ
|
MLR(ppm)
|
ไต้หวัน
|
1.0
|
สาธารณรัฐเกาหลี
|
50.0
|
กลุ่มสหภาพยุโรป
|
0.1
|
อังกฤษ
|
0.1
|
ออสเตรเลีย
|
50 มิลิกรัม/กก.
|
นิวซีแลนด์
|
50 มิลิกรัม/กก.
|
ไทย
|
ไม่พบค่ากำหนดทั้งในประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 163) พ.ศ.2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2548
และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สารพิษตกค้าง:ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (มกอช.9002-2547 และ 2551)
|
ที่มา : 1.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร http://www.thailandmb.com/list_faq.php
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 163) พ.ศ.2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง http://www.bayercropscience.co.th/foodsafety/download_foodsafety/MRL_2006/MRL2538.pdf
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 163) พ.ศ.2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง http://www.bayercropscience.co.th/foodsafety/download_foodsafety/MRL_2006/MRL2538.pdf
3.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2548 มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สารพิษตกค้าง:ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (มกอช.9002-2547 และ 2551) http://www.bayercropscience.co.th/foodsafety/download_foodsafety/MRL_2006/MRL2548.pdf และ http://www.acfs.go.th/searchMRL.php
จะว่าไปแล้ว สำหรับกรณีของเมทริลโบรไมด์ซึ่งมีการใช้ในโกดังเก็บธัญพืชกันมาก
โดยเฉพาะข้าวที่เราบริโภคเป็นประจำทุกวัน
และหากไม่ได้มีการควบคุมและตรวจสอบกระบวนการใช้สารอย่างถูกต้องแล้ว
ย่อมมีผลตกค้างมาถึงผู้บริโภคอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นขั้นตอนการใช้สารเคมีที่เข้าใกล้การบริโภคมากๆ ซึ่งต่างจากสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในระยะการเติบโตถึงเก็บเกี่ยว
ก่อนทำการสีเอาเปลือกออก
ผลตกค้างถึงผู้บริโภคจะมีมากน้อยแค่ไหน
ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน แต่สำหรับในเอกสารของผู้ค้าสารนี้ได้มีการระบุถึงพิษภัยของสารเมทริลโบรไมด์ว่าเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง(ดูตาราง)
ซึ่งต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับผู้ที่ทำหน้าที่รมสารและผู้ที่ทำงานในโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้สารดังกล่าว
ตลอดจนผู้ที่ทำหน้าที่กำจัดสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุและการกำจัดตัวบรรจุภัณฑ์ของสารนี้
นอกจากนี้ เมทริลโบรไมด์ยังเป็นสารตัวสำคัญที่ทำลายชั้นโอโซน
ดังนั้นในพิธีสารมอนทรีออลจึงได้กำหนดให้ประเทศไทยต้องมีการควบคุมการใช้ตั้งแต่ปี
2545 และต้องลดการใช้สารตัวนี้ตั้งแต่ปี 2548 ยกเลิกการนำเข้าในปี 2556
และยกเลิกการใช้ในปี 2558 อย่างไรก็ดี ข้อกำหนดดังกล่าวไม่รวมการใช้สารนี้ในงานด้านการกักกันพืช
และการรมกำจัดศัตรูพืชก่อนส่งออก
[1]ค่ามาตรฐานที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบสารพิษตกค้างในอาหารหรือผลผลิตทางการเกษตร
หรือ Maximum Residue Limits-MLRs หรือค่ากำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ซึ่งค่ากำหนดนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ โดยมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ให้นิยาม “สารพิษตกค้าง”
(pesticide residue) หมายถึง การตกค้างใดในสินค้าที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
และให้หมายความรวมถึงกลุ่มอนุพันธ์ของวัตถุอันตรายทางการเกษตร ได้แก่ สารที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง
(conversion) กระบวนการสร้างและสลาย (metabolites) เกิดจากการทําปฏิกิริยา(reaction)
หรือสิ่งปลอมปนในวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่มีความเป็นพิษ
รู้จักเมทิลโบรไมด์(บางส่วน)
ลักษณะ/ความเป็นอันตราย
|
หมายเหตุ
|
· ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะเป็นก๊าซพิษที่ไม่มีสีและกลิ่น
· อันตรายทางสุขภาพ
มีความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน(ทางปากและการสูดดม) และมีฤทธิ์กัดกร่อนและระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำลายดวงตาอย่างรุนแรง มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท ทางเดินหายใจ ไตและต่อมหมวกไต เมื่อได้รับสัมผัสเพียงครั้งเดียว และมีพิษต่อระบบประสาท หัวใจและลูกอัณฑะเมื่อได้รับสัมผัสซ้ำ
· อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
มีความเป็นพิษอย่างเฉียบพลันและเรื้อรังต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
|
อ้างอิงจากGHS ฐานข้อมูลญี่ปุ่น
|
เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโอโซน อาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้
เป็นกาซไวไฟอย่างยิ่ง ไอระเหยอาจเคลื่อนไปในระยะทางที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟได้
|
บริษัท Sigma -Aldrich
|
ผลิตภัณฑ์
| |
· ทางกฎหมาย
กฎหมาย CLP ระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อการกลายพันธุ์ และเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
|
เป็นสารที่ระบุใน Annex VI
|
· บรรจุภัณฑ์
ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ ท่อ ถังแก๊สเปล่าจะมีสิ่งตกค้างที่เป็นอันตราย ให้ปฏิบัติตามวิธีกำจัดอย่างเหมาะสม
|
ที่มา : เอกสารข้อมูลความปลอดภัยบริษัท Sigma -Aldrich http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst74-83-9.html
หลังจากข้อกำหนดการยกเลิกการใช้สารเมทริลโบรไมด์ในพิธีสารฯออกมา
ก็มีข้อแนะนำจากภาครัฐที่รับผิดชอบโดยตรงให้ใช้สารรมควันตัวอื่นทดแทน เช่น ฟอสฟีน
ไฮโดรเจนไซยาไนต์ โปรฟูม วาพอลเมท และ EDN เป็นต้น
แต่สารเหล่านี้ก็มีอันตรายไม่แพ้กัน และที่สำคัญกว่านั้นคือ
ความรู้ของมนุษย์เรายังไปไม่ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
สำหรับกรณีสารเคมีตกค้างประเภทอื่นๆ ประเทศไทยเราก็มีการกำหนดมาตรฐานสารตกค้างไว้เช่นกัน
แต่เป็นคนละมาตรฐานกับของสหภาพยุโรป
โดยในเอกสารของฝ่ายข้อมูลเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้ระบุไว้ว่าสหภาพยุโรปจะกำหนดค่า MRLs ส่วนใหญ่ไว้ค่อนข้างต่ำ
เพราะยึดหลักว่าต้องปลอดภัยกับผู้บริโภคและจะต้องเป็นระดับที่น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะที่ค่า MLRs ของประเทศไทยและของโคเด็กซ์
กลับมาจากมุมมองของเรื่องการค้าเป็นหลัก
จึงกำหนดออกมาเป็นค่าสูงที่สุดเท่าที่จะยอมรับได้ และที่มากไปกว่านั้น
ในกรณีของสหภาพยุโรปซึ่งนอกจากจะได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานสารตกค้างในข้าวสารที่ต่ำกว่าไทยแล้ว
ยังมีการกำหนดมาตรฐานสารเคมีตกค้างถึง 452 ชนิด อีกทั้งสารพิษชนิดใดไม่ได้กําหนด MRLs ไว้ ก็ให้ใช้ค่า 0.01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นมาตรฐาน ขณะที่ไทยมีการกำหนดไว้เพียง
10 ชนิดเท่านั้น (ดูตาราง)
คำถามที่ค้างคาใจก็คือว่า ชีวิตคนไทยมีความทนทานกว่าชาวยุโรปอย่างนั้นหรือ หรือว่าชีวิตคนไทยด้อยค่ากว่าชาวยุโรปกันแน่?
และการที่สหภาพยุโรปได้ระบุค่ามาตรฐานของสารพิษตกค้างไว้ต่ำ ก็แสดงว่าถ้าสารตกค้างสูงกว่ามาตรฐาน ย่อมต้องเกิดอันตรายกับร่างกายอย่างแน่นอน
ไม่เช่นนั้นเขาคงไม่ตั้งค่าไว้ต่ำๆให้เสียประโยชน์ทางการค้า
อันที่จริงในชีวิตคนเราก็ยังต้องเผชิญกับสารเคมีไม่รู้กี่มากน้อยในแต่ละวัน
แถมบางคนยังมีค่าความทนทานต่อสารบางตัวที่ต่ำกว่าคนอื่นๆอีก
จะไม่ยิ่งเสี่ยงกันไปใหญ่หรือ ถ้ามีการค่ามาตรฐานสารพิษตกค้างไว้สูงๆ ทำไมรัฐบาลไทยถึงได้ยื่นสารพิษสู่ประชาชน
โดยคิดถึงแต่ประโยชน์ทางการเงินหรือตัวเลขสวยหรูทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่อย่าลืมนะว่า ถึงเศรษฐกิจดี
แต่คนในประเทศขี้โรค ก็เหมือนกับเงินเข้ากระเป๋าขวาแล้วออกกระเป๋าซ้าย ซึ่งก็เป็นภาระที่กระทรวงสาธารณสุขต้องแบกรับไว้
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือเงินที่เข้ากระเป๋าขวานั้นก็เป็นกระเป๋าของเอกชนเสียเป็นส่วนใหญ่
จะมีก็แต่ภาษีที่แบ่งเข้ามาให้รัฐบาลบ้างก็เท่านั้น ขณะที่เงินจากกระเป๋าซ้ายมาจากรัฐบาลและประชาชนของประเทศชาตินี้
ถึงตรงนี้
จึงอยากเชิญชวนพร้อมกับเรียกร้องถึงความปลอดภัยทางสุขภาพของประชาชน
เพื่อให้รัฐบาลได้กำหนดเป็นกฏระเบียบค่ามาตรฐานของสารพิษตกค้าง
ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคจริงๆ
ไม่เฉพาะในสินค้าข้าวสารเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงสินค้าอื่นๆที่ต้องกินต้องใช้กันทุกวัน
โดยมาตรฐานสารพิษตกค้างต้องได้มาตรฐานทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
เพราะชีวิตคนต้องมาก่อน ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย ชีวิตทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน
ตัวอย่าง สารตกค้าง(MRLs) ตามมาตรฐานของโคเด็กซ์ ไทย และสหภาพยุโรป ในสินค้าข้าวสาร
ตัวอย่าง สารตกค้าง(MRLs) ตามมาตรฐานของโคเด็กซ์ ไทย และสหภาพยุโรป ในสินค้าข้าวสาร
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
|
MRLs(มิลลิกรัม/กิโลกรัม)
|
หมายเหตุ
|
||
โคเด็กซ์
|
ไทย
|
สหภาพยุโรป
|
||
2, 4 ดี (2, 4mD)
|
ไม่กําหนด
|
0.1
|
0.05*
|
สหภาพยุโรป - กําหนดสารพิษตกค้างในข้าวสารไว้
452 ชนิด และสารพิษชนิดใดไม่ได้กําหนด MRLs ไว้ให้ใช้ค่า 0.01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เป็นมาตรฐาน
(*) ปริมาณต่ำสุดของการตรวจวิเคราะห์
|
คลอไพริฟอส (chlorpyrifos)
|
ไม่กําหนด
|
0.1
|
0.05*
|
|
คาร์บาริล (carbaryl)
|
1
|
1
|
1
|
|
คาร์เบนดาซิม / เบโนมิล (carbendazim
/benomyl)
|
ไม่กําหนด
|
2
|
0.01*
|
|
คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan)
|
ไม่กําหนด
|
0.2
|
0.05*
|
|
คาร์โบฟูราน (carbofuran)
|
ไม่กําหนด
|
0.1
|
0.02*
|
|
ไดไทโอคาร์บาเมต (dithiocarbamates)
|
ไม่กําหนด
|
0.05
|
0.05*
|
|
ไดควอท (Diquat)
|
0.2
|
ไม่กําหนด
|
0.05*
|
|
ฟลูโตลานิล (Flutolanil)
|
1
|
ไม่กําหนด
|
2
|
|
พาราควอท (paraquat)
|
ไม่กําหนด
|
0.1
|
0.05
|
|
พิริมิฟอสเมทิล (pirimiphosmmethyl)
|
ไม่กําหนด
|
7
|
5
|
|
เฟนิโทรไทออน (fenitrothion)
|
ไม่กําหนด
|
1
|
0.05*
|
เกร็ดความรู้ของแถม
-สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกข้าวแบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ ที่เผชิญกับปัญหาเรื่อง
หนู มด และมอด เรามีเกร็ดความรู้จากภูมิปัญญาชาวนาไทยมาฝากค่ะ
ปราชญ์ชาวนาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องมอด
จะน้อยลงมาก หากปลูกข้าวแบบไม่ใช้สารเคมี
และควรเก็บข้าวในรูปของข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ
เพราะไข่มอดจะกลายเป็นตัวอย่างรวดเร็วและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วเช่นกันเมื่อความชื้นสูงและอุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่ควรเก็บข้าวในรูปของข้าวสารเพราะผิวจะบางซึ่งง่ายต่อการเจาะกินของมอด
หากสีเป็นข้าวสารแล้วยังขายไม่หมด
ทานไม่หมดก็ควรแพ็คในลักษณะที่สัมผัสอากาศให้น้อยที่สุดหรือสูญญากาศได้ยิ่งดี
หรือเก็บในที่เย็น
สำหรับปัญหาเรื่องมดและหนูซึ่งมันจะมากวนใจข้าวสะอาดปลอดภัยเป็นพิเศษ
เพื่อนเกษตรกรของเราแนะนำให้ใช้ ทั้งวิธีธรรมชาติและวิธีกล เช่น การใช้แมว กับดักหนู ตลอดจนใช้ไฟฟ้าช๊อต และป้องกันมดและแมลง
โดยใช้ปูนขาว สมุนไพร และกับดักแมลง เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้ก็จะทำให้เกษตรกรที่ดีได้ส่งมอบข้าวดีๆที่ปลูกด้วยรักคัดด้วยใจถึงมือผู้บริโภคที่ตั้งใจอุดหนุนท่านอย่างแท้จริง
-สำหรับผู้บริโภคเอง
หากเลือกได้ก็ควรที่จะเลือกซื้อข้าวและอาหารจากผู้ผลิตที่ไว้ใจได้
และไม่ควรซื้อมาสะสมให้นานเกินไป ทยอยซื้อ ทยอยทานของสดๆใหม่ๆ และต้องทำใจที่จะยอมรับกับของกินของใช้ต่างๆที่มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นลง
เพราะนั่นเป็นการบริโภคที่เข้าใจถึงธรรมชาติของความเป็นจริง หากทำใจได้
ท่านก็จะเสี่ยงกับปัญหาเรื่องสุขภาพจากการสะสมสารเคมีในร่างกายที่ลดลง นั่นหมายถึง
ชีวิตก็จะยืนยาวขึ้นภายใต้สุขภาพที่แข็งแรงนั่นเอง
ตัวอย่าง การกำจัดหนู แมลง และมดในโรงเก็บ(ยุ้งฉาง)ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปลอดสารพิษ
หนู
|
· กับดักประเภทต่างๆ
· แมว
· ติดลวดไฟฟ้า โดยเปิดกระแสไฟฟ้าบ่อยๆในช่วงแรก และเมื่อหนูจดจำได้มา
รบกวนน้อยลงก็ไม่ต้องเปิดบ่อยๆ
|
มด
|
· ยกพื้นที่วางข้าว
· ใช้ปูนขาวโรยที่พื้นก่อนวางกระสอบข้าว
· ใช้กากกาแฟโรยที่พื้น
|
แมลง/มอด
|
· ใช้สมุนไพร เช่น เสือหมอบ กระเพราผี ตากแห้งแล้วนำมาวางไว้ใต้ยุ้งในช่วงข้างแรม
· ใช้แสงไฟและกระป๋องทาน้ำมันดัก
|
ขอบคุณข้อมูลจาก
[iv]
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกําจัดศัตรูพืช
ปี 2555 หัวข้อ
“การกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด” ฝ่ายข้อมูลเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช http://www.thaipan.org/sites/default/files/conference2555/conference2555_0_07.pdf
[v]
อังคณา
สุวรรณกูฏ จดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ครูเล็ก มงคล ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสระแก้ว
ครูไพโรจน์ พ่วงทอง เกษตรกรดีเด่นสาขาทำนาปี 2554
ครูสำราญ อ่วมอั๋น ศูนย์เกษตรอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอนผิงแดด
เป็นประโยชน์มากเลยครับคุณทิพย์ ขออนุญาตนำไปเพิ่มความรู้ให้กับผู้อื่นด้วยนะครับ
ตอบลบยินดีค่ะพี่กมล
ตอบลบ