บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพราะน้องน้ำสำคัญขนาดนี้ แล้วจะปล่อยเธอผ่านไปแบบไม่สนใจใยดีได้อย่างไร


รุ่งทิพย์  สุขกำเนิด
เคยได้ยินไหม ว่าการดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอนรวดเดียว 5 แก้ว จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายตอนเช้า (ย้ำนะคะว่า ไม่ใช่สำหรับคนขี้เกียจออกกำลังกาย)  เพราะการดื่มน้ำเป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวและทำหน้าที่ผลิตเลือดใหม่มากขึ้นเพื่อมาดูดธาตุอาหารต่างๆ ที่เรากินเข้าไปได้ดีขึ้น  ทำให้เกิดพลังงานในร่างกายที่สมบูรณ์  ทำให้โรคต่างๆไม่กล้าย่างกรายมาเยือน ไม่ว่าจะท้องผูก ปวดหัว โลหิตจาง ความดันสูง อัมพาต เป็นลม ปากเบี้ยว โรคปวดตามข้อ  ปวดกระดูก ปวดเมื่อย หูอื้อ อ่อนเพลีย ไอ หืด หอบ หลอดลมอักเสบ โรคตับ โรคไต เป็นนิ่ว กรดในกระเพาะมากเกินไป ท้องอืด  ริดสีดวงทวาร โรคเบาหวาน ตาแห้ง ประจำเดือนไม่ปกติ จมูกอักเสบ เจ็บคอ และโรคผิวหนังต่างๆ(1)  โอ้โห  มากมายขนาดนี้ เดี๋ยวขอพักไปดื่มน้ำสัก 2-3แก้วก่อนนะคะ
          ไม่ใช่จะแค่ประโยชน์โดยตรงนะ น้ำยังสามารถสร้างอาหารให้เรา ผ่านทางผลผลิตของพืชและสัตว์  แถมน้ำยังสร้างความรื่นรมย์ สนุกสนาน คลายเครียด ไม่เชื่อก็ไปลองนั่งริมทะเลดู  แค่นั่งเฉยๆ ให้ลมผ่านหน้าชิวๆ หรือจะลงไปว่ายน้ำดูด้วยก็ยิ่งดี หากอยู่ไกลทะเล แต่ใกล้คลองคูก็ลองหาเบ็ดสักคันกับเสียมเล็กๆไปขุดไส้เดือนแล้วนำไปตกปู ตกปลา รับรองลืมไปเลยว่าเคยมีคราบ เอ้ย มีความเครียด

          แถมบางคนยังชอบเอาความทุกข์โศก เคราะห์กรรมไปทิ้งน้ำ  ดูอย่างชาวเหนือสมัยก่อน การลอยกระทงนอกจากจะเป็นการขอขมาพระแม่คงคาแล้ว ยังมีการตัดผมตัดเล็บใส่เพื่อให้สิ่งร้ายๆลอยไปกับกระทงด้วย  เช่นเดียวกับเพลงดังรุ่นแม่ แต่งโดยครูพยงค์ มุกดา ก็ยังบอกให้ “เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง  ให้มันไหลลง ไหลลงทะเล...” ไปเลย
คนตายเองก็ชอบน้ำเหมือนกัน   ชาวอินคาโบราณก็มีประเพณีลอยศพคนตายกลางแม่น้ำ พร้อมเครื่องใช้ประจำตัวและเครื่องเซ่น เพื่อให้วิญญาณคนตายมีความบริสุทธิ์ และเป็นการลบรอยมลทินของคนตายออกไปบ้าง(2)  สำหรับของไทยก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างแต่เป็นการลอยอังคารซึ่งเป็นเถ้ากระดูกที่เหลือจากการเผา เหมือนกับการฝากคนที่เรารักไว้กับพระแม่คงคา เทพยดาผู้รักษาน้ำ เพื่ออภิบาลดวงวิญญาณของผู้นั้นว่า  เกิดในภพใดชาติใดก็ขอให้มีแต่ความอยู่เย็นเป็นสุขเหมือนน้ำที่ชุ่มเย็น  และยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ร่างกาย สังขาร ทั้งหลาย เมื่อแตกดับ กลับคืนสู่ธาตุต่างๆที่มาประชุมกัน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ(3) นั่นเอง
เพราะ “น้ำ” มีความสำคัญมากมายซะขนาดนี้  สวรรค์จึงประทานให้โลกนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบตั้ง 3 ใน 4 ส่วน  แต่ไม่ประทานให้ดาวอื่นเลย บางคนอาจเถียงว่ามีการพบร่องรอยของน้ำบนดาวอังคาร แต่ขอโทษ มีแต่ร่องรอยจ้า น้ำของจริงหน่ะ “ไม่มี” อย่าคิดว่าหนีไปอยู่ดาวอังคารแล้วจะรอด
ถึงน้ำจะมีมากมาย  แต่ก็มีไม่เพียงพอสำหรับคนโลภและคนที่ไม่รู้จักคุณค่าของน้ำหรอกนะคะ 
เคยได้ยินไหม ที่ชาวนา 2 ตำบลยกพวกตีกัน เอาจอบเสียมไล่ฟาดกัน เพราะแย่งน้ำทำนาทั้งๆที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง   หรือกรณีของการพยายามจะผันน้ำข้ามลุ่มอย่างกก อิง น่าน นอกจากจะใช้งบมหาศาลแล้วยังจะสร้างความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในอนาคตด้วย  หรืออย่างกรณีของแม่น้ำโขง  ช่วงที่ไหลผ่านไทย ลาว ปีที่ผ่านมาน้ำแห้งขอดจนสันดอนขึ้น และมีบางช่วงแถวๆอำนาจเจริญที่เดินข้ามไปมาระหว่างประเทศได้(4) ทั้งๆที่แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอาศัยอยู่  (อยากรู้ว่าปลาอะไรดูเฉลยท้ายเรื่องนะจ๊ะ) (5) คิดดูสิว่าเมื่อก่อนมีน้ำมากมายขนาดไหน แล้วใครเอาน้ำไป ไม่ต้องบอกก็คงรู้ๆกันอยู่  หากเป็นอย่างนี้ต่อไปอีก อะไรจะเกิดขึ้น (บรื่อ...ไม่อยากคิดต่อเล้ย)
แหนะๆๆ พูดกันอยู่อย่างนี้ ยังเห็นบางคนเปิดน้ำไหล แล้วก็เอ้อละเหย ลอยหน้าแปรงฟัน ไม่รู้ร้อนรู้หนาว   ไม่ต้องมาก แค่ 3-5 นาทีหมดไปแล้วยี่สิบกว่าลิตร  คิดดูสิ  น้ำที่อุตส่าห์ต้องไปแย่งมาจากชาวนาชาวไร่ ไประเบิดภูเขามาสร้างเขื่อนกักไว้  ไปสร้างคลองประปา ไปถลุงเหล็กมาสร้างท่อส่ง ฯลฯ  แล้วเอามาใช้กันอย่างนี้หรือ   แค่นั้นยังไม่พอ น้ำจำนวนนี้ยังต้องกลายเป็นน้ำเสียเกิดเป็นมลพิษให้คนอื่นเดือดร้อน เป็นที่วางไข่ของยุง หรือไม่ก็ต้องให้รัฐเสียค่าบำบัดอีก อย่าเถียงนะ ว่านั่นเป็นสิทธิที่คุณจะทำได้เพราะคุณได้จ่ายภาษีแล้ว  เอาเงินไปใช้อย่างอื่นไม่ดีกว่าหรือ   
เอ้า! จะช่วยกันยังไงดีนะ  ก่อนอื่น ไปดูข้อมูลข้างล่างนี้ก่อน เผื่อจะคิดออก
สถานที่
กิจกรรม
วิธีการ
การใช้น้ำ (ลิตร/ครั้ง)
จำนวนครั้ง/วัน
จำนวน 4
คน/ครัวเรือน
ประมาณการใช้น้ำ/ครัวเรือน/วัน(ลิตร)
ครัว
ล้างผัก
ก.ในกะละมัง
15
3
1
45


ข.เปิดน้ำไหล  10 นาที
120
3
1
360

ล้างจาน
ก.ใช้มือ
18
1
1
18


ข.เครื่องล้างจานประหยัดน้ำ
16
1
1
16


ค.เครื่องล้างจานธรรมดา
36
1
1
36
ซักล้าง
เครื่องซักผ้า
ก.ฝาหน้ารุ่นประหยัดน้ำ
100
1
1
100


ข.ฝาบนรุ่นประหยัดน้ำ
110
1
1
110


ค.ฝาบนแบบธรรมดา
240
1
1
240
ห้องน้ำ
อาบน้ำ
ก.ฝักบัวประหยัดน้ำ
(6 นาที)
38
2
4
304


ข.อ่างน้ำ
100
1
4
400


ค.จากุ๊ชชี่
170
1
4
680

ชักโครก
ก.ชนิดประหยัดน้ำแบบครึ่งถัง
3
5
4
60


ข.ชนิดประหยัดน้ำ
6
5
4
120


ค.รุ่นธรรมดา
11
5
4
220

แปรงฟัน 1 ครั้ง
ก.ใส่แก้ว แก้ว
1
2
4
8


ข.เปิดน้ำตลอดการแปรงฟัน (3 นาที)
27
2
4
216
นอกบ้าน/ ในสวน
ล้างรถ
ก.รองใส่ถัง
75
0.14
1
10.71


ข.ใช้สายยาง
420
0.14
1
60

รดน้ำต้นไม้
ก.ใช้น้ำฝนบางส่วน
4.57
1
1
4.57


ข.หัวกระจาย (sprinkle) ชั่วโมงละ
1,000
0.33
1
333.33


หากลองคำนวณดู  จะได้ข้อมูลที่น่าตกใจทีเดียวว่า ถ้าเราใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด เช่น เปิดน้ำไหลขณะล้างผัก  อาบน้ำในอ่างจากุ๊ชชี่  เปิดน้ำไหลตลอดการแปรงฟัน ฯลฯ  เราจะใช้กันถึง 536 ลิตร/คน/วัน หรือเท่ากับ 2,145 ลิตร/ครัวเรือน/วัน หรือเทียบง่ายๆ ก็เท่ากับถังเก็บน้ำใบใหญ่ๆ(6) ที่ตามบ้านในกรุงเทพชอบใช้กัน 2 ถังกว่าๆ นั่นเลยทีเดียว
แต่ถ้าเราลองใช้น้ำแบบประหยัดกันบ้าง ไม่ใช่แบบอดๆอยากๆนะคะ  เพราะเราไม่ได้เอาน้ำดื่มและน้ำทำอาหารมาคำนวณ  จริงๆน่าจะบอกว่า “เป็นการใช้น้ำแบบถูกวิธี” มากกว่า  เราจะใช้น้ำกันเพียง 137 ลิตร/คน/วัน หรือเท่ากับ 550 ลิตร/ครัวเรือน/วัน  หรือเทียบง่ายๆก็คือถ้าเรามีน้ำเท่ากับคนที่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย แต่เราใช้มันอย่างถูกวิธี เราจะใช้ได้ถึง 4 วัน
ดังนั้น วิธีประหยัดน้ำแบบง่ายๆ และง่ายที่สุดก็คือ ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำนั่นเอง หมูใช่ไหมคะ  ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า “คุณทำได้อยู่แล้ว”  และแน่นอนว่าถ้าคุณเปลี่ยนจากวิธีการใช้น้ำแบบที่ 1 มาเป็นแบบที่ 2 แล้วหล่ะก้อ  คุณจะสามารถลดการใช้น้ำได้ถึงวันละ 1,595 ลิตร/ครัวเรือน/วัน ซึ่งวิธีที่ 2 นี้ช่วยให้คุณประหยัดน้ำได้ถึง 74% เลยทีเดียว 
แต่หากว่าคุณยังชอบเปิดน้ำไหลตอนล้างผัก เพราะกลัวสารเคมีตกค้าง ก็ช่วยนำกะละมังมารองน้ำเก็บไว้ แล้วนำไปรดต้นไม้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของน้ำได้อีกแรงหนึ่ง (ที่สำคัญ คุณจะได้รู้ว่า ล้างผักแต่ละทีเสียน้ำไปขนาดไหน) หรือไม่ก็ทำระบบแยกน้ำที่เป็นน้ำที่ยังไม่สกปรกเกินไป ที่เขาเรียกว่า grey water เช่น น้ำอาบ น้ำล้างจาน ล้างผัก ซักผ้า โดยขุดทางหรือต่อท่อให้มันไหลสู่ต้นไม้ในสวนโดยตรง (เหมือนชาวบ้านต่างจังหวัด)  แต่หากน้ำใช้แล้วมีปริมาณมากพอสมควร อย่างเช่น ตามโรงแรม รีสอร์ท หรือแม้แต่ตามหมู่บ้านจัดสรร ก็ใช้วิธีบำบัดโดยปล่อยให้มันไหลผ่านพืชชนิดต่างๆ เช่น ผักตบชวา กก ธูปฤษี หญ้าแฝก เสียก่อนเพื่อลดความสกปรกลง แล้วเติมจุลินทรีย์ก่อนที่จะปั๊มมารดต้นไม้ก็ทำได้
หรือถ้าคุณคิดจะปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำ นั่นแหละ คุณมาถูกทางแล้ว  โดยเฉพาะอุปกรณ์ในส่วนของห้องน้ำ เพราะวันๆนึง เราใช้น้ำไปกับกิจกรรมในห้องน้ำถึง 52 %  โดยที่เหลือเป็นกิจกรรมในห้องครัว นอกบ้านและซักล้างเท่ากับ 18, 18 และ 11  % ตามลำดับ 
เริ่มต้นจากส่วนที่ทำให้น้ำออกมา คือ ก๊อกน้ำ และฝักบัว ให้เลือกแบบประหยัดน้ำ  ถามคนขายได้เลย หรือถ้าสังเกตดูจะเห็นน้ำที่ออกมาจะมีลักษณะเป็นฟองฟูๆ คือมีอากาศปนอยู่ในน้ำทำให้น้ำดูเหมือนมีปริมาณเพิ่มขึ้น 
สำหรับชักโครกควรเลือกแบบ 2 ปุ่ม สำหรับเบาและหนัก ( ดูภาพ)  แต่หากสุขาเดิมยังใช้งานได้ดีอยู่ คุณก็สามารถช่วยประหยัดน้ำได้ด้วยการนำขวดพลาสติกขนาดครึ่งลิตรใส่น้ำให้เต็มแล้วใส่ในถังน้ำชักโครกก็ช่วยได้เยอะ (ดูภาพ)   หรือจะใช้ชักโครกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เช่น ใช้น้ำที่ผ่านการซักผ้ามาแล้วกับชักโครก ดังภาพ  ก็จะทั้งสะอาดทั้งหอมเลยทีเดียว  น่าเสียที่ยังไม่เคยเห็นสุขาแบบนี้ในเมืองไทย หากใครพบช่วยแจ้งข่าวด้วยนะคะ
นอกจากนี้  น้ำฝนที่พระพิรุณประทานมาให้ฟรีๆ  แม้สภาพฝุ่นควันในอากาศจะไม่เอื้อให้นำมาดื่มเหมือนสมัยก่อน  แต่ก็ยังถือว่ามีคุณภาพดีพอที่จะนำมาใช้ในการล้างรถ   ชักโครก ใส่บ่อปลา หรือนำมารดน้ำต้นไม้ยิ่งดี  โดยเฉพาะ เห็ด กับกล้วยไม้ นี่จะชอบน้ำฝนเป็นพิเศษ ไม่เชื่อลองดูนะคะ



ข้อมูลจากหนังสือ 1001 วิธีอยู่สบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.ได้ประมาณการว่า พื้นที่หลังคาขนาด 100 ตรม.  ที่ระดับน้ำฝน 1200 มม. (น้ำฝนในบ้านเมืองเราโดยเฉลี่ยก็ประมาณนี้แหละค่ะ) สามารถเก็บน้ำได้ถึงปีละ  120,000 ลิตร (เทียบได้กับถังเก็บน้ำใบใหญ่ๆที่ใช้ตามบ้านในกรุงเทพ 120 ถัง)  อันนี้เราต้องลงทุนทำรางน้ำฝนซะก่อน  ที่บ้านฉันจะทำรางน้ำไว้บนหลังคา  โดยมีท่อลงจากหลังคา 3 จุด จุดที่ 1 และ 2 จะมีโอ่งรองน้ำไว้ใช้  สะดวกมากค่ะ  ใช้ทั้งล้างมือและเท้าก่อนเข้าบ้าน  ล้างรถ ล้างพื้น รดต้นไม้ สารพัดประโยชน์  ส่วนโอ่งก็แล้วแต่ความชอบค่ะ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลากหลายสไตล์ตั้งแต่ใบละไม่กี่ร้อยไปยังใบละหลายหมื่นบาท จะเลือกสุดสวยคลาสสิกขนาดไหนก็แล้วแต่ความชอบค่ะ  ถ้าปลูกต้นไม้ไว้รอบๆ ก็ดูเก๋ไปอีกแบบหนึ่ง   เด็กๆยังสามารถมาตักน้ำสาดกันในวันที่อากาศร้อนได้อีกด้วย

ส่วนท่อน้ำฝนจุดที่ 3 เราต่อท่อลงสู่ถังเก็บน้ำใต้ดินที่ทำจากวงซีเมนต์ ขนาด 4 วงเชื่อมต่อกันในแนวสูง และมีท่อเชื่อมต่อกันทั้งหมด 5 แถว โดยซ่อนอยู่ใต้ดินทั้งหมดทำให้ไม่เกะกะสายตา ไม่เปลืองที่เก็บ ส่วนด้านบนก็ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีก  ปีๆนึง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้หลายรอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่แพงค่ะ เพราะไม่ต้องการความประณีตสวยงาม แค่ขอให้เก็บน้ำอยู่ก็พอ ดังนั้นต้นทุนส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ราคาวงซีเมนต์ค่ะ ส่วนค่าแรงแค่นิดเดียวเท่านั้น

แต่ก็มีเหมือนกันที่เขานำที่เก็บน้ำมาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน แถมยังช่วยลดความร้อนได้ด้วย  แค่ตกแต่งเพิ่มสีสันด้วยกระเบื้อง นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังใช้เป็นที่เก็บน้ำฝนและเพิ่มความแข็งแรงให้กับบ้านไปในตัวดูภาพประกอบนะคะ  หรือจะให้ง่ายเข้า ก็ซื้อถังเก็บน้ำที่มีขายตามร้านเครื่องก่อสร้างมีหลายเกรด หลายราคา หลายสีทั้งแบบธรรมดาและป้องกันราและสาหร่ายมาใช้แทนก็ได้ ไม่ว่ากัน


นอกจากวิธีที่เล่าให้ฟังข้างต้นแล้ว  เรายังสามารถทำที่เก็บน้ำแบบง่ายๆ ด้วยการขุดดินให้ลึก เพื่อทำสระน้ำได้อีก เรียกว่า สุดยอดของเคล็ดวิชา คือการคืนสู่สามัญนั่นแหละค่ะ อันนี้ก็ลงทุนจ้างรถมาขุดได้เลย  ถ้าบ่อลึก โอกาสที่จะมีน้ำใช้ทั้งปี ก็จะมีมาก  แถมดินที่ขุดขึ้นมาก็สามารถนำมาถมที่ให้สูงขึ้น   ชาวเมืองอาจไม่นิยมใช้น้ำจากสระเท่าไรนัก  แต่ถ้า เราเพิ่มปลาทับทิมและปลาตะเพียนลงไป เพิ่มกบ เพิ่มปูนา ปลูกต้นไม้รอบๆบ่ออีกนิด  ก็เพิ่มสีสัน และเสียงจากธรรมชาติ ช่วยให้บ้านกลายเป็น  Resource and sra pla  นั่นก็คือมีทั้งทรัพย์สมบัติและสระปลา เป็นการเพิ่มการพึ่งพาตนเองด้านอาหารด้วย  เรียกว่า  เจ๋งกว่า resort and spa  ซึ่งเราคงมีเงินและเวลาที่จะไปใช้บริการได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ส่วน Resource and sra pla  นี่อยู่กับเราทุกวัน  แค่นี้ ก็เป็นการสร้างสรรสวรรค์ในครอบครัว เรียกว่า อยู่หมัดทั้งคุณพ่อ คุณลูก  ไม่ว่าวันไหนๆก็อยากอยู่บ้านกันทุกวันเลย

ในเมื่อน้องน้ำมีความสำคัญซะขนาดนี้ แล้วจะปล่อยไปเธอผ่านแบบไม่สนใจใยดีได้อย่างไร



อ้างอิงและเชิงอรรถ
(1) พัตสลา เพชรใส ,http://gotoknow.org/blog/easyhealthy/27938 (เข้าถึงเมื่อ  กพ.54)
(4) ข้อมูลเดือน พย.2553 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290499093&grpid=03&catid=&subcatid=
(5) ปลาบึกไงหล่ะ
(6) ถังขนาด 1000 ลิตร
(7) รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย),2550    “ 1001 วิธีอยู่สบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”